วันพุธที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่16

วัน พุธ ที่ 29 กันยานยน พ.ศ.2553

สอบปลายภาคเรียนที่ 1/ 2553
และประเมินอาจารย์

สรุปจากการเรียน
จากเรียนวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยทำให้ดิฉันได้รับความรู้ ได้รู้ทฤษฎีของนิวแมน โดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 และนอกจากเรียนในห้องเรียนแล้วยังได้ออกนอกสถานที่ไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนสัตหีบ เกี่ยวกับการจัดงานวันวิทยาศาสตร์ หลังจากนั้นมาจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ได้ลงมือปฏิบัติจริง และขอขอบคุณ อาจารย์จินตนา สุขสำราญ ที่คอยให้คำแนะนำคำปรึกษาระหว่างการเรียนและคอยให้ความรู้ที่สามารถนำไปใช้การฝึกสอน ขอขอบคุณค่ะ

บันทึกครั้งที่15

วัน พุธ ที่ 29 กันยายน พ.ศ.2553

สรุปจาการเรียนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


วิทยาศาสตร์ คือ การทดลอง


สังเกตจาการตอบคำถาม คือ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์


การให้ความรู้ผู้ปกครอง ผู้ปกครองต้องตั้งคำถามเพื่อให้เด็กเกิดการกระตุ้นในการเรียนรู้ เช่น ทำไมไข่แดงเจาะแล้วแตก เป็นการพยากรณ์ คาดคะเนไข่แดง เมื่อเจียวไข่ลงกระทะจะมีการเปลี่ยนแปลงโดยสี รูปร่าง รสชาติ


มีการสังเกต ทดลอง ปฏิบัติ และการแสดงความคิดเห็น


เสียงเกิดจากอะไร


เสียง คือ วัตถุ 2 สิ่งมากระทบกันจึงเกิดเสียงมีการเสียดสีระหว่างแก้วกับเชือกจึงนำมาเป็นของเล่น


การเปลี่ยนแปลง เป็นความสัมพันธ์ระหว่างมิติและเวลา





จากนั้นอาจารย์ได้สรุปเกี่ยวกับเทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์(เพิ่มเติม)และให้อ้างอิงแหล่งที่มา


การส่งเสริมและฝึกให้เด็กรู้จักสังเกต โดยสมมติว่าเด็กกำลังสนใจหนอนแล้วเด็กเดินมาบอกครู ครูไม่ควรไปคิดว่าเด็กกำลังสนใจสิ่งสกปรก แต่ครูควรแนะนำและฝึกให้เด็กสังเกตสิ่งที่สนใจ


สร้างความชัดเจนว่าวิทยาศาสตร์เป็นของเด็กทุกคน ครูมีหน้าที่ให้เด็กทุกคนสนใจ ให้เด็กเห็นวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้นกับสิ่งที่แปลกใหม่เหมาะสมกับวัย


บทบาทของครูวิทยาศาสตร์


1.ต้องเตรียมข้อมูลในการสอน 2.วิธีการเรียนรู้ 3.พัฒนาการของเด็กแต่ละวัย 4.ความเหมาะสม


การสอนวิทยาศาสตร์


1.กำหนดวัตถุประสงค์


2.วางแผนการจัดประสบการณ์


3.เลือกวัสดุอุปกรณ์ ต้องเตรียมให้พร้อมที่จะใช้


4.การสอน


5.การประเมิน ว่าเด็ดเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือไม่


วิธีการประเมินการเรียนรู้ของเด็ก


1.การสังเกต เก็บข้อมูลของเด็กเพราะเด็กมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงตลอด


2.การซักถาม


3.จากผลงาน ดูพัฒนาการของเด็กว่ามีการเปลี่ยนแปลงเช่น ภาษา และการวาดภาพ


บรรยากาศในการเรียน


1.การใช้เทคโนโลยีการนำเสนอเป็นงาน Power point


2.ความกระตือรือร้นในการตอบคำถาม


3.อากาศในห้องเรียนเย็นสบาย








วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 14

วัน พุธ ที่ 22 กันยายน พ.ศ.2553


สรุปงานแผนผัง Mind Map ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนรายวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยเรื่อง การจัดโต๊ะ เก้าอี้ในรูปแบบของเกือกม้าจะช่วยในการเรียนการสอนของเด็ก เช่นการทดลอง เด็กได้เรียนรู้จากการจับ และปฏิบัติสรุปองค์ประกอบของการเขียนแผนผัง กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือความสัมพันธ์ของ 2อย่างเข้าด้วยกัน การสังเกต ,การวัด จำแนก ,มิติเวลา กิจกรรมศิลปะไม่ควรใช้ดินสอเพราะจะทำให้เด็กไม่มีความเชื่อมั่น ควรแนะนำให้ใช้สีเทียน เพราะว่าเด็กวาดรูปนั้นถ้าวาดไม่ถูกใจเขาก็จะต่อเติมภาพของเขา การวาดของเด็กเกิดจากจินตนาและความคิดสร้างสรรค์

บรรยากาศในการเรียน

1.การนั่งเรียนโดยเป็นรูปเกือกม้าอาจารย์ได้เห็นเด็กทุกคน

2.ได้ทราบเกี่ยวกับการทำMind Map ของแต่ละกลุ่ม

3.บรรยากาศเย็น



การบ้าน

- อาจารย์แจกใบงานเกี่ยวกับเทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์ (ส่งสัปดาห์หน้า)

บันทึกครั้งที่ 13

วัน พุธ ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553





สรุป

จากการเรียน
อาจารย์ให้จับกลุ่ม กลุ่มละ 5-6 คน จากนั้นคิดเรื่องที่สนใจ 1 เรื่อง
ทำให้ตระหนักถึงการคิดหัวเรื่องต่าง ๆ มาจัดเป็นกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เช่น เรื่องสัตว์ ผลไม้ ผัก ร่างกาย คิดหาหัวข้อที่จะสามารถนำมาใช้ในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในรูปแบบของ Mind Map เมื่อเสร็จแล้วนำเสนอหน้าชั้นเรียนแต่ละกลุ่ม

บรรยากาศในการเรียน

1.ทำให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับการนำวิทยาศาสตร์มาประยุกต์เข้าแต่ละเรื่อง

2.มีความตั้งใจ กระตือรือร้น ในการทำงานที่ได้รับมอบหมายให้

3.อาจารย์อธิบายการเรียนการสอนชัดเจน

4.อาจารย์สามารถมองเห็นการทำงานของแต่ละกลุ่มและเข้าถึงนักศึกษา


การบ้าน
ให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความ 11 ข้อ พร้อมทั้งอ้างอิงบุคคลที่นำมา










บันทึกครั้งที่12

วัน พุธ ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2553
สรุปกิจกรรมวันวิทยาศาสตร์ ของแต่ละกลุ่ม

กลุ่มที่ 1 การมอง (เรื่อง แสง)

กลุ่มที่ 2 เอ๊ะนั่นเสียงอะไร

กลุ่มที่ 3 น้ำมหัศจรรย์

กลุ่มที่ 4 อากาศ
วัน ศุกร์ ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2553

จัดกิจกรรมวันวิทยาศาสตร์
ที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
























บันทึกครั้งที่ 11

วัน พุธ ที่ 1 กันยายน พ.ศ.2553

นำวิทยาศาสตร์มาจัดให้อาจารย์ดูก่อนถึงวัน ศุกร์
มีทั้งหมด 4 ฐานที่ไปจัดร่วมกับรุ่นพี่ที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ได้แก่
- ฐาน เรื่องน้ำ
- ฐาน เรื่องแสง
- ฐาน เรื่องเสียง
- ฐาน เรื่องอากาศ





สรุป

การนำเสนอวิทยาศาสตร์ก่อนจัดทำให้เรามีความพร้อมในการเตรียมอุปกรณ์ให้ครบ ซึ่งการนำเสนอในวันนี้มีน้องปี 2 มาร่วมกิจกรรมด้วย น้องๆให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม และมีการซักถามระหว่างร่วมกิจกรรม

บรรยากาศในการเรียน

1.บรรยากาศเต็มไปด้วยความสนุกสนานในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์

2.ความกระตือรือร้นในการซักถามเกี่ยวกับกิจกรรมของแต่ละกลุ่ม