วันพุธที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่16

วัน พุธ ที่ 29 กันยานยน พ.ศ.2553

สอบปลายภาคเรียนที่ 1/ 2553
และประเมินอาจารย์

สรุปจากการเรียน
จากเรียนวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยทำให้ดิฉันได้รับความรู้ ได้รู้ทฤษฎีของนิวแมน โดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 และนอกจากเรียนในห้องเรียนแล้วยังได้ออกนอกสถานที่ไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนสัตหีบ เกี่ยวกับการจัดงานวันวิทยาศาสตร์ หลังจากนั้นมาจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ได้ลงมือปฏิบัติจริง และขอขอบคุณ อาจารย์จินตนา สุขสำราญ ที่คอยให้คำแนะนำคำปรึกษาระหว่างการเรียนและคอยให้ความรู้ที่สามารถนำไปใช้การฝึกสอน ขอขอบคุณค่ะ

บันทึกครั้งที่15

วัน พุธ ที่ 29 กันยายน พ.ศ.2553

สรุปจาการเรียนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


วิทยาศาสตร์ คือ การทดลอง


สังเกตจาการตอบคำถาม คือ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์


การให้ความรู้ผู้ปกครอง ผู้ปกครองต้องตั้งคำถามเพื่อให้เด็กเกิดการกระตุ้นในการเรียนรู้ เช่น ทำไมไข่แดงเจาะแล้วแตก เป็นการพยากรณ์ คาดคะเนไข่แดง เมื่อเจียวไข่ลงกระทะจะมีการเปลี่ยนแปลงโดยสี รูปร่าง รสชาติ


มีการสังเกต ทดลอง ปฏิบัติ และการแสดงความคิดเห็น


เสียงเกิดจากอะไร


เสียง คือ วัตถุ 2 สิ่งมากระทบกันจึงเกิดเสียงมีการเสียดสีระหว่างแก้วกับเชือกจึงนำมาเป็นของเล่น


การเปลี่ยนแปลง เป็นความสัมพันธ์ระหว่างมิติและเวลา





จากนั้นอาจารย์ได้สรุปเกี่ยวกับเทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์(เพิ่มเติม)และให้อ้างอิงแหล่งที่มา


การส่งเสริมและฝึกให้เด็กรู้จักสังเกต โดยสมมติว่าเด็กกำลังสนใจหนอนแล้วเด็กเดินมาบอกครู ครูไม่ควรไปคิดว่าเด็กกำลังสนใจสิ่งสกปรก แต่ครูควรแนะนำและฝึกให้เด็กสังเกตสิ่งที่สนใจ


สร้างความชัดเจนว่าวิทยาศาสตร์เป็นของเด็กทุกคน ครูมีหน้าที่ให้เด็กทุกคนสนใจ ให้เด็กเห็นวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้นกับสิ่งที่แปลกใหม่เหมาะสมกับวัย


บทบาทของครูวิทยาศาสตร์


1.ต้องเตรียมข้อมูลในการสอน 2.วิธีการเรียนรู้ 3.พัฒนาการของเด็กแต่ละวัย 4.ความเหมาะสม


การสอนวิทยาศาสตร์


1.กำหนดวัตถุประสงค์


2.วางแผนการจัดประสบการณ์


3.เลือกวัสดุอุปกรณ์ ต้องเตรียมให้พร้อมที่จะใช้


4.การสอน


5.การประเมิน ว่าเด็ดเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือไม่


วิธีการประเมินการเรียนรู้ของเด็ก


1.การสังเกต เก็บข้อมูลของเด็กเพราะเด็กมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงตลอด


2.การซักถาม


3.จากผลงาน ดูพัฒนาการของเด็กว่ามีการเปลี่ยนแปลงเช่น ภาษา และการวาดภาพ


บรรยากาศในการเรียน


1.การใช้เทคโนโลยีการนำเสนอเป็นงาน Power point


2.ความกระตือรือร้นในการตอบคำถาม


3.อากาศในห้องเรียนเย็นสบาย