วันพุธที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่16

วัน พุธ ที่ 29 กันยานยน พ.ศ.2553

สอบปลายภาคเรียนที่ 1/ 2553
และประเมินอาจารย์

สรุปจากการเรียน
จากเรียนวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยทำให้ดิฉันได้รับความรู้ ได้รู้ทฤษฎีของนิวแมน โดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 และนอกจากเรียนในห้องเรียนแล้วยังได้ออกนอกสถานที่ไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนสัตหีบ เกี่ยวกับการจัดงานวันวิทยาศาสตร์ หลังจากนั้นมาจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ได้ลงมือปฏิบัติจริง และขอขอบคุณ อาจารย์จินตนา สุขสำราญ ที่คอยให้คำแนะนำคำปรึกษาระหว่างการเรียนและคอยให้ความรู้ที่สามารถนำไปใช้การฝึกสอน ขอขอบคุณค่ะ

บันทึกครั้งที่15

วัน พุธ ที่ 29 กันยายน พ.ศ.2553

สรุปจาการเรียนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


วิทยาศาสตร์ คือ การทดลอง


สังเกตจาการตอบคำถาม คือ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์


การให้ความรู้ผู้ปกครอง ผู้ปกครองต้องตั้งคำถามเพื่อให้เด็กเกิดการกระตุ้นในการเรียนรู้ เช่น ทำไมไข่แดงเจาะแล้วแตก เป็นการพยากรณ์ คาดคะเนไข่แดง เมื่อเจียวไข่ลงกระทะจะมีการเปลี่ยนแปลงโดยสี รูปร่าง รสชาติ


มีการสังเกต ทดลอง ปฏิบัติ และการแสดงความคิดเห็น


เสียงเกิดจากอะไร


เสียง คือ วัตถุ 2 สิ่งมากระทบกันจึงเกิดเสียงมีการเสียดสีระหว่างแก้วกับเชือกจึงนำมาเป็นของเล่น


การเปลี่ยนแปลง เป็นความสัมพันธ์ระหว่างมิติและเวลา





จากนั้นอาจารย์ได้สรุปเกี่ยวกับเทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์(เพิ่มเติม)และให้อ้างอิงแหล่งที่มา


การส่งเสริมและฝึกให้เด็กรู้จักสังเกต โดยสมมติว่าเด็กกำลังสนใจหนอนแล้วเด็กเดินมาบอกครู ครูไม่ควรไปคิดว่าเด็กกำลังสนใจสิ่งสกปรก แต่ครูควรแนะนำและฝึกให้เด็กสังเกตสิ่งที่สนใจ


สร้างความชัดเจนว่าวิทยาศาสตร์เป็นของเด็กทุกคน ครูมีหน้าที่ให้เด็กทุกคนสนใจ ให้เด็กเห็นวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้นกับสิ่งที่แปลกใหม่เหมาะสมกับวัย


บทบาทของครูวิทยาศาสตร์


1.ต้องเตรียมข้อมูลในการสอน 2.วิธีการเรียนรู้ 3.พัฒนาการของเด็กแต่ละวัย 4.ความเหมาะสม


การสอนวิทยาศาสตร์


1.กำหนดวัตถุประสงค์


2.วางแผนการจัดประสบการณ์


3.เลือกวัสดุอุปกรณ์ ต้องเตรียมให้พร้อมที่จะใช้


4.การสอน


5.การประเมิน ว่าเด็ดเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือไม่


วิธีการประเมินการเรียนรู้ของเด็ก


1.การสังเกต เก็บข้อมูลของเด็กเพราะเด็กมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงตลอด


2.การซักถาม


3.จากผลงาน ดูพัฒนาการของเด็กว่ามีการเปลี่ยนแปลงเช่น ภาษา และการวาดภาพ


บรรยากาศในการเรียน


1.การใช้เทคโนโลยีการนำเสนอเป็นงาน Power point


2.ความกระตือรือร้นในการตอบคำถาม


3.อากาศในห้องเรียนเย็นสบาย








วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 14

วัน พุธ ที่ 22 กันยายน พ.ศ.2553


สรุปงานแผนผัง Mind Map ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนรายวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยเรื่อง การจัดโต๊ะ เก้าอี้ในรูปแบบของเกือกม้าจะช่วยในการเรียนการสอนของเด็ก เช่นการทดลอง เด็กได้เรียนรู้จากการจับ และปฏิบัติสรุปองค์ประกอบของการเขียนแผนผัง กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือความสัมพันธ์ของ 2อย่างเข้าด้วยกัน การสังเกต ,การวัด จำแนก ,มิติเวลา กิจกรรมศิลปะไม่ควรใช้ดินสอเพราะจะทำให้เด็กไม่มีความเชื่อมั่น ควรแนะนำให้ใช้สีเทียน เพราะว่าเด็กวาดรูปนั้นถ้าวาดไม่ถูกใจเขาก็จะต่อเติมภาพของเขา การวาดของเด็กเกิดจากจินตนาและความคิดสร้างสรรค์

บรรยากาศในการเรียน

1.การนั่งเรียนโดยเป็นรูปเกือกม้าอาจารย์ได้เห็นเด็กทุกคน

2.ได้ทราบเกี่ยวกับการทำMind Map ของแต่ละกลุ่ม

3.บรรยากาศเย็น



การบ้าน

- อาจารย์แจกใบงานเกี่ยวกับเทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์ (ส่งสัปดาห์หน้า)

บันทึกครั้งที่ 13

วัน พุธ ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553





สรุป

จากการเรียน
อาจารย์ให้จับกลุ่ม กลุ่มละ 5-6 คน จากนั้นคิดเรื่องที่สนใจ 1 เรื่อง
ทำให้ตระหนักถึงการคิดหัวเรื่องต่าง ๆ มาจัดเป็นกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เช่น เรื่องสัตว์ ผลไม้ ผัก ร่างกาย คิดหาหัวข้อที่จะสามารถนำมาใช้ในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในรูปแบบของ Mind Map เมื่อเสร็จแล้วนำเสนอหน้าชั้นเรียนแต่ละกลุ่ม

บรรยากาศในการเรียน

1.ทำให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับการนำวิทยาศาสตร์มาประยุกต์เข้าแต่ละเรื่อง

2.มีความตั้งใจ กระตือรือร้น ในการทำงานที่ได้รับมอบหมายให้

3.อาจารย์อธิบายการเรียนการสอนชัดเจน

4.อาจารย์สามารถมองเห็นการทำงานของแต่ละกลุ่มและเข้าถึงนักศึกษา


การบ้าน
ให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความ 11 ข้อ พร้อมทั้งอ้างอิงบุคคลที่นำมา










บันทึกครั้งที่12

วัน พุธ ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2553
สรุปกิจกรรมวันวิทยาศาสตร์ ของแต่ละกลุ่ม

กลุ่มที่ 1 การมอง (เรื่อง แสง)

กลุ่มที่ 2 เอ๊ะนั่นเสียงอะไร

กลุ่มที่ 3 น้ำมหัศจรรย์

กลุ่มที่ 4 อากาศ
วัน ศุกร์ ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2553

จัดกิจกรรมวันวิทยาศาสตร์
ที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
























บันทึกครั้งที่ 11

วัน พุธ ที่ 1 กันยายน พ.ศ.2553

นำวิทยาศาสตร์มาจัดให้อาจารย์ดูก่อนถึงวัน ศุกร์
มีทั้งหมด 4 ฐานที่ไปจัดร่วมกับรุ่นพี่ที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ได้แก่
- ฐาน เรื่องน้ำ
- ฐาน เรื่องแสง
- ฐาน เรื่องเสียง
- ฐาน เรื่องอากาศ





สรุป

การนำเสนอวิทยาศาสตร์ก่อนจัดทำให้เรามีความพร้อมในการเตรียมอุปกรณ์ให้ครบ ซึ่งการนำเสนอในวันนี้มีน้องปี 2 มาร่วมกิจกรรมด้วย น้องๆให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม และมีการซักถามระหว่างร่วมกิจกรรม

บรรยากาศในการเรียน

1.บรรยากาศเต็มไปด้วยความสนุกสนานในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์

2.ความกระตือรือร้นในการซักถามเกี่ยวกับกิจกรรมของแต่ละกลุ่ม





บันทึกครั้งที่10

วัน พุธ ที่ 25 สิหาคม พ.ศ. 2553



นำเสนอสื่อแต่ละกลุ่มและโครงการ



จุดประสงค์โครงการ ถังขยะอัจฉริยะ

1.เพื่อให้เด็กสามารถคัดแยกขยะได้ถูกต้อง

2.เพื่อให้เด็กได้นำขยะมารีไซเคิล

3.เพื่อตระหนักและมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะ

ประโยชน์จากสิ่งประดิษฐ์

1.สามารถนำสิ่งที่เหลือใช้มารีไซเคิลเป็น Bankgroud ในการถ่ายรูป

2.นำBankgroud มาจัดนิทรรศการ

บันทึกครั้งที่ 9




วัน พุธ ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วันนี้สาขาการศึกษาปฐมวัยชั้นปี่ที่3 และปีที่ 4 ไปทัศนศึกษาที่สัตหีบ จังหวัดชลบุรี


จุดประสงค์

1.เพื่อไปดูวันวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนสัตหีบ

2.เพื่อไปศึกษาระบบนิเวศของเต่าทะเล

ความประทับใจในครั้งนี้

เมื่อไปถึงฐานทัพเรือสัตหีบซึ่งเราได้นอนพักค้างที่นี่เป็นเวลา1คืน ทางพี่่ทหารก็มีได้จัดกิจกรรมการเล่นกีฬา ทั้งหมด 8 ประเภท และได้แบ่งเป็น 3 สี ได้แก่
-สีเขียว
-สีเหลือง
-สีแดง
การเล่นกีฬาได้ส่งเสริมความสามัคคีในกลุ่มและสานความสัมพันธ์ระหว่างพี่กับน้อง หลังจากที่เล่นกีฬาเสร็จเมื่อตกค่ำก็ได้เล่นฐานตอนกลางคืนเป็นการวัดความอดทนและเมื่อเจออุปสรรคในสิ่งข้างหน้า และสุดท้ายที่ขาดไม่ได้ก็คือ อาหารในแต่ละมื้ออร่อยมาก กินอิ่มทุกมื้อ ขอขอบคุณพี่ที่ทำอาหารให้เราได้ทาน ขอขอบพระคุณค่ะ




บันทึกครั้งที่ 8

วัน พุธ ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ.2553

วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากสอบกลางภาค
ตั้งแต่ วันที่ 5-11 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่7



วัน พุธ ที่ 4 สิงหาคม 2553



วันนี้ไหว้ครูสาขาการศึกษาปฐมวัย ชั้นปีที่ 1-4

และมีการบายศรีสู่ขวัญรับน้องปี1


บันทึกครั้งที่6

วัน พุธ ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ.2553
ดู VDO สรุป เรื่อง น้ำ
น้ำเป็นส่วนประกอบของชีวิต โดยการนำผลไม้มาบดแล้วบีบจะมีน้ำออกมา

ผัก ผลไม้ จะมีน้ำ 90 เปอร์เซนต์
ส่วนร่างกายของคนเรานั้นมีน้ำ 70 เปอร์เซนต์
สิ่งมีชีวิตจะมีการปรับตัวในธรรมชาติ โดยมนุษย์เรานั้นจะขาดน้ำได้ 3วัน ถ้าเกิน 3 วันจะมีอาการอ่อนเพลียหรือเสียชีวิตได้ แต่สัตว์เช่น อูฐ ขาดน้ำได้ 10 วัน เนื่องจากมีไขมันในการเผาผลาญ
สถานะของน้ำแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

-ของแข็ง จะมีอนุภาคอย่างหนาแน่นในการรวมตัวกันเกิดเป็นน้ำแข็ง
-ของเหลว
-ก๊าซ จะมีอนุภาคในการกระจัดกระจายเป็นไอน้ำ
บรรยากาศในการเรียน
การใช้สื่อเทคโนโลยีใหม่ๆ ทำให้ดึงดูดความสนใจในการดู




การบ้านสาเหตุภาวะโลกร้อน


ภาวะโลกร้อน หมายถึง การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ที่ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้น เราจึงเรียกว่า ภาวะโลกร้อน (Global Warming) กิจกรรมของมนุษย์ที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน คือ กิจกรรมที่ทำให้ปริมาณก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ การเพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกโดยตรง เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิง และ การเพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกโดยทางอ้อม คือ การตัดไม้ทำลายป่า
ปรากฏการณ์เรือนกระจก หมายถึง การที่ชั้นบรรยากาศของโลกกระทำตัวเสมือนกระจกที่ยอมให้รังสีคลื่นสั้นจากดวงอาทิตย์ผ่านทะลุลงมายังผิวพื้นโลกได้ แต่จะดูดกลืนรังสีคลื่นยาวที่โลกคายออกไปไม่ให้หลุดออกนอกบรรยากาศ ทำให้โลกไม่เย็นจัดในเวลากลางคืน บรรยากาศเปรียบเสมือนผ้าห่มผืนใหญ่ที่คลุมโลกไว้ ก๊าซที่ยอมให้รังสีคลื่นสั้นจากดวงอาทิตย์ผ่านทะลุลงมาได้แต่ไม่ยอมให้รังสีคลื่นยาวที่โลกคายออกไปหลุดออกนอกบรรยากาศ เรียกว่า ก๊าซเรือนกระจก
ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญๆ มีอะไรบ้าง แต่ละชนิดมีที่มาอย่างไร
ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทนและก๊าซไนตรัสออกไซด์
1. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เกิดจาก การเผาไหม้เชื้อเพลิง โรงงานอุตสาหกรรม และการตัดไม้ทำลายป่า
2. ก๊าซมีเทน เกิดจาก การย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิตในพื้นที่ที่มีน้ำขัง เช่น นาข้าว
3. ก๊าซไนตรัสออกไซด์ เกิดจาก อุตสาหกรรมที่ใช้กรดไนตริกในกระบวนการผลิต และการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนในการเกษตรกรรมหากไม่มีการช่วยกันแก้ไขปัญหาโลกร้อนในวันนี้ ในอนาคตจะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างไร
1. ทำให้ฤดูกาลของฝนเปลี่ยนแปลงไป กระบวนการระเหยและการกลั่นตัวจะเร็วขึ้น หมายถึงว่า ฝนอาจจะตกบ่อยขึ้น แต่น้ำจะระเหยเร็วขึ้นด้วย ทำให้ดินแห้งเร็วกว่าปกติในช่วงฤดูกาลเพาะปลูก
2. ผลผลิตทางการเกษตรจะลดลง นอกจากผลกระทบโดยตรงจากอุณหภูมิ ฝน ช่วงระยะเวลาฤดูกาลเพาะปลูกแล้ว ยังเกิดจากผลกระทบทางอ้อมอีกด้วย คือ การระบาดของโรคพืช ศัตรูพืชและวัชพืช
3. สัตว์น้ำจะอพยพไปตามการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิน้ำทะเล แหล่งประมงที่สำคัญๆของโลกจะเปลี่ยนแปลงไป
4. มนุษย์จะเสียชีวิตเนื่องจากความร้อนมากขึ้น ตัวนำเชื้อโรคในเขตร้อนเพิ่มมากขึ้น ปัญหาภาวะมลพิษทางอากาศภายในเมืองจะรุนแรงมากขึ้น


คนไทยสามารถช่วยกันแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างไร

เพื่อไม่ให้ประชากรโลกรวมทั้งประเทศไทยได้รับผลกระทบที่รุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ จึงควรให้ความร่วมมือในการรักษาสมดุลทางธรรมชาติให้คงอยู่ตราบนานเท่านาน ตามมาตรการดังต่อไปนี้

1. ร่วมกันใช้ก๊าซธรรมชาติแทนถ่านหินและน้ำมันในกระบวนการผลิตและการขนส่งต่างๆ เพื่อลดปริมาณการปล่อยออกก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้น้อยลง
2. ใช้พลังงานทดแทน เช่น จากแสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล
3. รักษาป่าที่มีอยู่ให้คงอยู่ต่อไป ฟื้นฟูสภาพป่าที่เสื่อมโทรม ปลูกป่าเพิ่มเติม
4. ศึกษาและปรับปรุงวิธีการใช้ปุ๋ยให้เหมาะสมกับชนิดของพืช
5. ใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในภาคธุรกิจ อุตสาหกรรมและครัวเรือน
6. เพิ่มประสิทธิภาพในด้านการคมนาคม ซึ่งอาจทำได้โดยการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ทดแทนเชื้อเพลิง หรือปรับปรุงประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ เป็นต้น

ข้อมูลจาก : กลุ่มวิชาการภูมิอากาศ สำนักพัฒนาอุตุนิยมวิทยา กรมอุตุนิยมวิทยา

http://www.tmd.go.th/NCCT/index.php

บันทึกครั้งที่5

นำเสนอโครงการแต่ละกลุ่ม

กลุ่ม 1 กิจกรรมตกแต่งถุงผ้าช่วยลดภาวะโลกร้อน

แสดงบทบาทสมมติเกี่ยวกับตลาดหรรษา

เป็นการให้ความรู้และตระหนักถึงความสำคัญในการใช้ถุงผ้า

เพิ่มเติม เนื้อหาการเปลี่ยนแปลงของโลกควรเปิด youtubeและตัวกิจกรรมการเล่นบทบาทสมมติถุงพลาสติก ถุงผ้า เกี่ยวกับกิจกรรมตรงไหน เป็นสิ่งที่ย่อยสลายยากเป็นสิ่งที่อยู่รอบๆตัวคือวิทยาศาสตร์

กลุ่ม 2 กระถางต้นไม้สุดประหยัดจากขวดพลาสติก

มีภาพมานำเสนอที่ส่งผลเสียจากการทิ้งขวดพลาสติกก่อนสู่ตัวเรื่อง

เพิ่มเติม -ภาพสื่อเล็กเกินไปควรนำไว้Power point

-ขาดการเชื่อมโยง การใช้คำ ดื่ม, กิน ควรเลือกเพียงอย่างเดียว

กลุ่ม 3 ถังขยะอัจฉริยะ

เพิ่มเติม -พื้นหลังลายตา,ตัวหนังสือเปลี่ยนสี

-หลักการและเหตุผล ควรเกิดจากการคัดแยกจึงนำสู่กิจกรรม

-งบประมาณมี3ส่วน คือ งบใช้สอย งบวัสดุ

กลุ่ม 4 กิจกรรมลดภาวะโลกร้อนสำหรับเด็กปฐมวัย

เพิ่มเติม-ควรมีกิจกรรมเกริ่นนำก่อน

-วัตถุประสงค์เนื้อหาส่งผลกระทบต่อเด็กตรงไหน

-สื่อควรมีให้เห็น, เทคนิคการเรียงภาพเหตุการณ์ควรใช้คำถาม

กลุ่ม 5 คลายโลกร้อนด้วยมือน้อย

เพิ่มเติม-วัตถุประสงค์ไม่ควรใส่คำว่าเด็กนักเรียน

-ขั้นดำเนินการ สอดแทรกนำสู่กิจกรรม

การบ้าน

1.ประดิษฐ์เกี่ยวกับโครงการที่นำเสนอ 1 ชิ้น(งานกลุ่ม)
2.ประดิษฐ์เศษวัสดุเหลือใช้เป็นสื่อวิทยาศาสตร์1ชิ้น(งานกลุ่ม
)





วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่4

การนำเสนอโครงการของแต่ละกลุ่ม
กลุ่ม1โครงการกระถางต้นไม้สุดประหยัด จากขวดพลาสติก
กลุ่ม2โครงการแม่ลูกช่วยกันระบายสีถุงผ้าลดโลกร้อน
กลุ่ม3โครงการประดิษฐ์ตระกร้าจากกล่องนม
กลุ่ม4โครงการกิจกรรมลดภาวะโลกร้อนของเด็กปฐมวัย
กลุ่ม5โครงการถังขยะอัฉริยะ
นำเสนอโครงการเกี่ยวกับการตระหนักถึงความสำคัญของภาวะโลกร้อน

ชื่อโครงการ ถังขยะอัจฉริยะ
ในการทำโครงการมีสื่อละครเวทีให้เด็กดูเพื่อให้เห็นถึงภาพของความสำคัญการรักษ์โลก และการดำเนินกิจกรรมมีการประดิษฐ์สัญลักษณ์ของถังขยะอีกด้วย งบประมาณคร่าวๆ 300 บาทเนื้อหาที่ต้องเพิ่มเติม จากอาจารย์ต่อยอดโครงการให้เป็นรายสัปดาห์ มีสังเกตพฤติกรรมของแต่ละห้องว่ามีการแยกขยะได้ถูกต้องและจัดตั้งโครงการประกวดการประดิษฐ์ของเหลือใช้จากเศษวัสดุ
การบ้าน ให้จัดทำสื่อการเรียน ศิลปะที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์

วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่3

ตัวแทนของแต่ละกลุ่มนำเสนอกิจกรรม
กลุ่ม1 ถุงผ้าลดโลกร้อน (เด็กอายุ 4 ปี)
กลุ่ม2 ขยะรีไซเคิล (เด็กอายุ 3ปี)
กลุ่ม3 เรียงรูปภาพการตัดไม่ทำลายป่า(เด็กอายุ 5ปี)
กลุ่ม4 ชุดจากถุงขนม ร้องเทาจากขวดน้ำ (เด็กอายุ 4ปี)
กลุ่ม5การรณรงค์ให้เก็บขยะ แยกขยะ (เด็กอายุ 5 ปี)

อาจารย์ให้เขียนโครงการในการทำกิจกรรม

บันทึกครั้งที่ 2

เรื่อง การปฐมนิเทศ
ข้อตกลง
1. เรื่องการมีวินัย-ความรับผิดชอบในตนเอง และการเข้าเรียนให้ตรงตามเวลาที่ได้ตงลงร่วมกัน
2. เรื่องการแต่งกายให้ถูกระเบียบตามกฎระเบียบของมหาวิทยาลัย รวมไปถึง ทรงผม รองเท้า เสื้อไม่รัดจนเกินไป
3. เรื่องการบันทึกเรื่องเรียนและงานต่างๆลงblogของตนเอง
เนื้อหาที่เรียนในวันนี้
เด็กปฐมวัยต่อการเรียนรู้เรื่องวิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์ คือความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตนเอง
การทบทวนบทบาท
-เปิดโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขาโดยการให้ความสนใจกับคำถาม
-จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่จะส่งเสริมและต่อยอดทักษะและแนวคิดที่ถูกต้องให้กับเด็กอย่างเหมาะสม
-ให้ความสนใจกับการค้นพบแบบเด็กๆ
-ครูและผู้ปกครองต้องยอมรับในเรื่องจินตนาการที่มีสูงอยู่ในเด็กวัยนี้
-คนที่เป็นครูจะต้องแม่นยำในพัฒนาการของเด็ก เพื่อที่จะสามารถจัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับความสามรถของเด็ก เพื่อประเมินในการเรียนรู้ของเด็ก

บันทึกครั้งที่1

วันพุธ 23 มิถุนายน 2553
ปฏิบัติกิจกรรมรับน้องของมหาวิทยาลัย